ซอฟตแวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ 
ลินุกซ์ เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ

ความหมาย ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์  ทำหน้าที่โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware) ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้   เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์  Keyboard ขณะเปิดเครื่อง  ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด  “Keyboard Error”  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ  อำนวยความสะดวกในการใช้งาน  และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ



ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking)
ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์
 เช่น ระบบปฏิบัติการดอส


ระบบปฏิบัติการดอส ( Disk Operating System : DOS)บริษัทไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและให้ชื่อว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้มอบหมายให้บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโดยให้ชื่อว่า พีซีดอส ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานแบบเดียวกับไมโครคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จะใช้ระบบปฏิบัติการของ บริษัทไมโครซอฟต์  เช่นกันแต่ใช้ว่า เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System  :  MS-DOS) ซึ่งมีการทำงานคล้าย พีซีดอส แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว


ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบ ติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่า จียูไอ คือ มีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการที่เลือก (MENU) หรือสัญรูป(Icon) ในการสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนการพิมพ์ทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้นระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะความง่ายในการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาด ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท อ่านต่อ


ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการประเภทใช้หลายคน และหลายงาน ได้มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถใช้กับเครื่องชนิดต่างๆ หลายระบบโดยตั้งชื่อใหม่ เช่น ซีนิกซ์ (Xenix) วีนิกซ์ (vinix) ไมโครนิกซ์ (Micronix) เอไอเอกซ์ (AIX) อัลทริกซ์ (Altrix) เป็นต้น ปัจจุบันมีความพยายามจะกำหนดให้ระบบปฏิบัติการที่มีชื่อต่างๆ เหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกันโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ระบบยูนิกซ์นี้ มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ


ระบบปฏิบัติ MAC OS X พัฒนามาจากรุ่น MAX OS 9 (X คือ เลข10 แบบโรมันเป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องของบริษัท แอปเปิ้ลเท่านั้น ซึ่งเน้นงานประเภทกราฟิก และศิลปะเป็นหลัก ทั้งนี้รูปแบบการทำงานแบบต่าง ๆ ของ MAC OS X จะสนับสนุนแบบ GCI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ WINDOWS ด้วยเหตุที่มีผู้นำรหัสต้นแบบของ  ระบบปฏิบัติการระบบนี้


ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ระบบหนึ่งเช่นเดียวกับซีนิกซ์หรือวีนิกซ์ ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซินกิประเทศฟินแลนด์ชื่อลีนุซ ทอร์วาลด์ (Linus Torvalds)เขาเริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2523 ด้วยเขาต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติยูนิกซ์ที่มีความสามารถมากกว่าไมนิกซ์ซึ่งเขาใช้งานอยู่ จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้เอง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากระบบยูนิกซ์อื่นเลย และในปี พ.ศ. 2534 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่น 0.010 ก็ได้รับการเผยแพร่ โดยมีการแจกให้ใช้งานฟรีรวมทั้งรหัสต้นแบบ (source code) ก็เป็นที่เปิดเผย จึงเป็นที่นิยมและมีผู้นำไปพัฒนาลีนุกซ์ของตนเองขึ้นใช้งานมากมาย รวมทั้งมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ขึ้นใช้งานบนลีนุกซ์อีกด้วย


2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง

Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server )


OS/2 Warp Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่ง ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุมเครื่องแม่ข่ายหรือ Server เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง และเลิกพัฒนาต่อไปแล้ว

Solaris เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix compatible) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกับระบบอื่น

ที่มา : ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )

3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ 


Palm OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง Palm ( ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟต์ (เนื่องจากมีการผลิตเครื่องขึ้นมาใช้งานก่อนนั่นเอง) ปัจจุบันอาจพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor (ของค่ายแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว) และ CLIE (ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตไปแล้ว) ซึ่งก็ใช้ระบบปฏิบัติการแบบนี้ด้วยเช่นกัน


Pocket PC OS (Windows CE เดิม) บริษัทไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญจากการสร้างระบบที่ใช้สำหรับเครื่องพีซีมาก่อน ได้หันมาเน้นการผลิตเพื่อใช้งานร่วมกับการควบคุมในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น โดยสร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Pocket PC OS (เดิมใช้ชื่อว่า Windows CE หรือ Windows Consumer Electronics แต่มีการตั้งชื่อใหม่นี้ในภายหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไป เพื่อให้ชื่อของระบบปฏิบัติการตัวดังกล่าวเหมือนกับชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปเลย)




Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone นอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันได้ด้วย (multi-tasking) ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่นอกเหนือจากแค่รับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียว เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ล่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดย บริษัทซิมเบียน ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เอา OS ชนิดนี้ไปใช้งานแล้วในโทรศัพท์มือถือของตน เช่น Sony Ericsson, Motorola, Nokia และ Samsung เป็นต้น



โปรแกรมอรรถประโยชน์

โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (utility programs) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง  รวมทั้งสามารถใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง โปรแกรมอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

1. โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility programs)
โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility programs) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังต่อไปนี้

1.1 โปรแกรมจัดการไฟล์ (File manager) 
โปรแกรมจัดการไฟล์ (File manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ต่างๆ ได้แก่ การคัดลอกแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล การลบแฟ้มข้อมูล การเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเหมือนจริง (image view) ทำให้การใช้งานมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

1.2 โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller)
โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำโปรแกรมและส่วนประกอบของโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในระบบออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์จะติดตั้งโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์อยู่แล้ว

ภาพที่ 1.1
ภาพที่ 1.2

1.3 โปรแกรมสแกนดิสก์ (disk scanner) 
โปรแกรมสแกนดิสก์ (disk scanner) เป็นโปรแกรมช่วยตรวจสอบความเสียหายหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ กล่าวคือ เมื่อใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นเวลานาน มักเกิดส่วนที่เสียหาย ที่เรียกว่า bad sector ส่งผลให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์ช้าลง หรืออาจทำให้การบันทึกหรือเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ยากขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ เพื่อค้นหาส่วนที่เสียหาย ไฟล์ที่มีข้อผิดพลาด และซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้

1.4 โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์  (Disk defragmenter) 
โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์  (Disk defragmenter)เป็นโปรแกรมที่ใช้การจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ เมื่อมีการเรียกใช้งานฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์นั้นอยู่บ่อยๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบและไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เมื่อต้องการเรียกใช้อีกในภายหลังจะทำให้เวลาในการดึงข้อมูลนั้นๆช้าลง ดังนั้น ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวช่วยจัดเรียงไฟล์ต่างๆให้เป็นระเบียบ
ภาพที่ 1.3




ภาพที่ 1.4




1.5 โปรแกรมรักษาหน้าจอ (Screen saver)
โปรแกรมรักษาหน้าจอ (Screen saver) เป็นโปรแกรมรักษาและช่วยยืดอายุการใช้งานจอภาพของคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ การเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและปล่อยทิ้งไว้ให้แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เป็นเวลานาน จะทกให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉาบผิวจอ และไม่สามารถลบหายออกไปได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะส่งผลให้อายุการใช้งานของหน้าจอคอมพิวเตอร์สิ้นลง ในการใช้โปรแกรมดังกล่าวผู้ใช้สามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจสอบ และเริ่มทำงานได้ หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆของจอภาพ เช่น๕นาที หรือ ๑๐นาที เป็นต้น เมื่อเราขยับเมาส์ หรือเริ่มที่จำงานใหม่ โปรแกรมนี้จะปิดไปอัตโนมัติ
ภาพที่ 1.5




















2) โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ


โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังต่อไปนี้

2.1 โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression utility) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์ เรียกว่า ซิปไฟล์ (zip file) โปรแกรมบีบอัดไฟล์ที่นิยม เช่น WinZip, Winrar เป็นต้น

2.2 โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็น โปรแกรมที่ช่วยป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามาในระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งจาก ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตโดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ เข้าและออกจากระบบ ถ้าพบว่ามีข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจเป็นข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่เข้ามาในระบบ โปรแกรมจะไม่อนุญาตให้ข้อมูลดังกล่าวเข้ามาในระบบ โปรแกรมไฟร์วอลล์เป็นซอร์ฟแวร์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้ จ่าย นิยมใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows เช่น Windows Firewall , ZoneAlarm , Lavasoft Personal Firewall , PC Tools Firewall Plus เป็นต้น

ภาพที่ 2.1

ภาพที่ 2.2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น